วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

การแทรกตาราง

การสร้างตาราง

   1.  คำสั่งหลักที่ใช้ในการสร้างตารางของภาษา HTML  มีดังนี้

 <TABLE>...........</TABLE>   

เป็นคำสั่งที่กำหนดให้โปรแกรมเบราว์เซอร์สร้างตาราง

 <CAPTION>...........</CAPTION>   

เป็นคำสั่งที่ใช้ตั้งชื่อหรือหัวข้อเรื่องให้กับตาราง

 <TR>...........</TR>   

เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดแถว (ROW)

 <TH>...........</TH>   

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดข้อมูลส่วนหัวของตาราง

<TD>...........</TD>   

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดข้อมูลในแต่ละแถว

                    โครงสร้างของตาราง

<TABLE>
            <CAPTION> ชื่อตาราง </CAPTION>
            <TR>
                     <TH> ข้อมูลส่วนหัว </TH>
            </TR> 
            <TR>
                     <TD> ข้อมูล </TD>
             </TR>
             <TR>
                     <TD> ข้อมูล </TD>
             </TR>
</TABLE>   


2.  คำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการตกแต่งตารางของภาษา HTML 

2.1 คำสั่ง BORDER   ใช้กำหนดความหนาให้กับเส้นขอบของตาราง มีหน่วยเป็น Pixel ถ้าไม่ใส่คำสั่งนี้ไว้ด้วย  BORDER  ก็จะมีค่าเท่ากับ 1 ซึ่งเป็นค่าปกตอ คือจะไม่เห็นเส้นขอบของตาราง 

2.2  คำสั่ง ALIGN ใช้กำหนดตำแหน่งการจัดวางตาราง มี 3 รูปแบบ คือ

                                              - LEFT    คือ จัดตารางชิดซ้าย (ค่าปกติ) ของจอภาพ

                                              - RIGHT  คือ จัดตารางชิดขวาของจอภาพ

                                              - CENTER  คือ จัดตารางไว้กึ่งกลางของจอภาพ

 2.3 คำสั่ง WIDTH ใช้กำหนดความกว้างของตารางทั้งหมด  มีหน่วยเป็น Pixel หรือ เปอร์เซ็นต์ก็ได้

 2.4 คำสั่ง HEIGHT  ใช้กำหนดความสูงของตารางทั้งหมด มีหน่วยเป็น Pixel หรือ เปอร์เซ็นต์ก็ได้

 2.5 คำสั่ง BGCOLOR    เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นหลังของตารางใช้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์  Internet Explorer เท่านั้น

 2.6 คำสั่ง  CELLSPACING  ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างช่องแต่ละช่องในตาราง โดยการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดตามความหนาของเส้นขอบตาราง

2.7 คำสั่ง CELLPADDING  ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดของตาราง โดยการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดตามความสูงของเส้นขอบตาราง

2.8 คำสั่ง Colspan และ Rowspan 

คำสั่ง <TD  COLSPAN> เป็นคำสั่งในการรวมคอลัมน์เข้าด้วยกัน ตามค่าของจำนวนคอลัมน์ที่กำหนดไว้

รูปแบบคำสั่ง      <TD  COLSPAN = "Number">

โดยที่           - COLSPAN คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดการรวมคอลัมน์
                     - Numberคือ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการรวมคอลัมน์เข้าเป็นคอลัมน์เดี่ยวกัน

คำสั่ง <TD  ROWSPAN> เป็นคำสั่งในการรวมแถวเข้าด้วยกัน ตามค่าของจำนวนแถวที่กำหนดไว้

รูปแบบคำสั่ง     <TD  ROWSPAN = "Number">

 โดยที่           - ROWSPAN คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดการรวมแถว
                     - Number คือ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการรวมแถวเข้าเป็นแถวเดียวกัน

อ้างอิง

การแทรกรูปภาพ

การใส่รูปภาพ
การทำเว็บเพจในหนึ่งหน้า นอกจากจะมีข้อความแล้วยังต้องประกอบด้วยรูปภาพเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเว็บเพจ นอกจากนี้แล้วรูปภาพยังสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนกว่าข้อความ ดังคำกล่าวที่ว่า "หนึ่งภาพแทนพันตัวอักษร" การใส่รูปภาพในเอกสาร HTML นั้นคุณจะต้องเตรียมรูปภาพไว้ก่อน โดยใช้แท็กสำหรับแสดงผลรูปภาพดังนี้

           รูปแบบแท็กการใส่รูปภาพ      <img src = "ชื่อภาพ">

 รูปแบบการใส่รูปภาพ

  <html>
  <head><title> ....การใส่รูปภาพ....</title></head>
       <body>
               <img src = "5.jpg">      
       </body>
  </html>


สำหรับแท็กการใส่รูปภาพ สามารถมี Attribute กำกับเพิ่มเติมได้้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดความกว้าง ความสูงของรูปภาพว่าเราต้องการให้แสดงขนาดกว้างและสูง เท่าไหร่ ซึ่งหากเราไม่ได้ระบุภาพจะมีขนาดเท่าขนาดของภาพต้นฉบับ นอกจากนี้เรายังสามารถใส่ขอบของภาพได้ด้วย ซึ่ง Attribute มีดังนี้

                ความกว้าง    width="ตัวเลขระบุความกว้าง"
                ความสูง       height="ตัวเลขระบุความสูง"
                เส้นขอบ      border="ตัวเลขระบุความหนาของเส้นขอบ"

ตัวอย่าง    <img src = "5.jpg" width="200" height="150" border="1">

จากตัวอย่าง จะแสดงภาพขนาด 200x150 px. (หน่วยการแสดงผลภาพ แสดงเป็น Pixels) และมีขอบ หากไม่ต้องการให้แสดงเส้นขอบให้กำหนด border="0" (หากต้องการใ้ห้ขอบมีความหนามาก ระบุตัวเลขให้มาก)

อ้างอิง
http://www.thainextstep.com/html/html_06.php
http://www.aw.ac.th/web_html/010.htm

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การแต่งตัวอักษร

- การกำหนดตัวอักษร 
        การกำหนดฟอนต์ ก็เหมือน ๆ กับตอนที่เราิพิมพ์งานใน word นั้นละค่ะ ซึ่งเราจะสามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้ฟอนต์แบบไหน ซึ่งอาจจะเป็น Arial หรือ Angsana New เป็นต้น ในการเขียน HTML เราก็สามารถกำหนดได้ค่ะ ว่าจะให้ข้อความของเราแสดงผลด้วยรูปแบบของฟอนต์แบบไหน แต่ในการเขียนเว็บเพจนั้น ฟอนต์ที่เป็นที่นิยมจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ MS Sans Serif และ Tahoma โดยฟอนต์แบบ MS Sans Serif จะนิยมใช้กับเว็บที่มีการแสดงผลข้อความเป็นภาษาไทย และ Tahoma มักใช้การแสดงผลข้อความเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็สามารถใช้กับข้อความภาษาไทยได้เหมือนกัน (อย่าง Nextstepdev ก็ใช้ฟอนต์แบบ Tahoma) รูปแบบการกำหนดชื่อฟอนต์
 
 
 

- ขนาดตัวอักษร

H1   จะมีขนาด 21 pixel และตัวหนา
H2   จะมีขนาด 17 pixel และตัวหนา
H3   จะมีขนาด 14 pixel และตัวหนา
H4   จะมีขนาด 12 pixel และตัวหนา
H5   จะมีขนาด 11 pixel และตัวหนา
H6   จะมีขนาด 9 pixel และตัวหนา

<font size="ตัวเลข">ข้อความ</font>
 
 




- สีตัวอักษร
 
  การกำหนดสีสันของข้อความเป็นเรื่องสำคัญอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการทำเว็บเลยทีเดียว เพราะสีสันข้อความสามารถดึงดูดสายตาของผู้เยี่ยมชม หากข้อความของเว็บใช้สีที่อ่านยาก เพราะว่าสีกลืนกันไปหมดกับพื้นหลัง ความสำคัญของการสื่อความหมายของข้อความนั้น ๆ อาจอ่อนด้อยลง ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้สีควรเลือกให้เหมาะกับโทนสีทั้งหมดของเว็บ ไม่ควรอ่อนด้อยเกินไป หรือโดดเด่นเกินไป (สำหรับข้อความเล็ก ๆ ต้องการเน้นอาจทำได้)
 
 


 


- ตัวเอียง ตัวหนา ตัวขีดเส้นใต้
 
                 <b> = ตัวหนา        code <b>...</b>
           <i> = ตัวเอียง        code <i>...</i>
           <u> = ตัวขีดเส้นใต้    code <u>...</u>





 
- ตัวขีดฆ่า ตัวยก ตัวห้อย
 
ตัวขีดฆ่า ใช้คำสั่ง <S>...</S>
ตัวอักษรยกขึ้น ใช้คำสั่ง <SUP>...</SUP>
ตัวอักษรห้อยลง ใช้คำสั่ง <SUB>...</SUB>
 
 

 



 - ตัวอักษรวิ่ง ตัวอักษรกระพริบ 
 
ตัวอักษรกระพริบ ใช้คำสั่ง <BLINK>...</BLINK>
ตัวอักษรวิ่ง        ใช้คำสั่ง 
 1.<marquee direction="left">ข้อความวิ่งจากขวาไปซ้าย</marquee>
 2.<marquee direction="right">ข้อความวิ่งจากซ้ายไปขวา</marquee> 
 3.<marquee direction="up">ข้อความวิ่งจากล่างขึ้นบน</marquee>
 4.<marquee direction="down">ข้อความวิ่งจากบนลงล่าง</marquee>
 
 

 
- การจัดตำแหน่งตัวอักษร    
 
1. การกำหนดให้อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางด้วยแท็ก Center  <center> ...ข้อความ...</center>
2. การกำหนดตำแหน่งโดยใช้ Attribute ของแท็ก <p> โดยใช้ Attribute align รูปแบบดังนี้ 
              <p align = "ตำแหน่ง"> ...ข้อความ...</p>ตำแหน่งที่สามารถระบุได้ คือ left center หรือ right

 



วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

HTML tag พื้นฐาน

HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language .ใช้โปรแกรม Note Pad สร้าง เปิดดูเอกสารด้วย Webbrowser

Text Editor คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างและแก้ไขข้อความ ในการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML นั้นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการเขียน และแก้ไขตัวอักษรซึ่งเป็นคำสั่งต่าง ๆปัจจุบันมี โปรแกรม Text Editor หลายโปรแกรม  เช่น NotePad, 





EditPlus หรือโปรแกรมDreamweaver ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างเว็บเพจด้วย
องค์ประกอบของ เอกสาร html  โครงสร้างของเอกสารเอชทีเอ็มแอลนั้นจะประกอบด้วยส่วนประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนหัวของเอกสาร(Head Section)และส่วนเนื้อหาของเอกสาร (Body Section) โดยส่วนหัวของเอกสารจะอยู่ภาายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่งBODY..../BODYโดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภาายในป้ายระบุหรือคำสั่ง HTML/HTML ซึ่งเป็นส่วนที่ใใช้สำหรับบอกว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารเอชทีเอ็มแอล

<html> คือ เป็น TAG เริ่มต้นการเขียนและจบการเขียน <html>..........</html> 

<head> คือ คำสั่งบอกส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง โดยมีคำสั่งย่อย <TITLE> อยู่ภายใน   <head><title>......</title></head>

<TITLE>  คือ  ข้อความที่จะแสดงผลบน Title Bar บน Web Browser TAG <TITLE>.....</TITLE>

<BODY>   คือ เป็นส่วนที่จะแสดงผลออกไปยังหน้า Web Browser เช่น การแสดงผลรูปภาพ การแสดงผล Contents การสร้างจุดเชื่อมโยง ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ Body ไว้ภายใน TAG <BODY> ….. </BODY> เป็นต้น

<BR>  คือ เป็น TAG สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ของ HTML

<P>    คือ การกำหนด Paragraph ของข้อมูลภายในเว็บเพจ

รูปตัวอย่าง




วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเว็ป


Internet เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ เช่น ดาวเทียม เคเบิลใยแก้ว (Optic fiber) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)


WWW       คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษ
ที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape

  website  หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์  เว็บไซต์แห่งแรกของโลกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น

  webpage
หรือ หน้าเว็บ หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งานโดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น  โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
 

   web browser  เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ  เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ [1] ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์


   URL คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

Homepage คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน  ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก


HTTP
(HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ  การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกัน





ที่มา
http://www.ninetechno.com/a/website/394-what-is-http.html
http: http://bringza024.blogspot.com/2012/07/blog-post.html//tnt.co.th/thai/contact_us/faqs/detail.php?ID=233