วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

การแทรกตาราง

การสร้างตาราง

   1.  คำสั่งหลักที่ใช้ในการสร้างตารางของภาษา HTML  มีดังนี้

 <TABLE>...........</TABLE>   

เป็นคำสั่งที่กำหนดให้โปรแกรมเบราว์เซอร์สร้างตาราง

 <CAPTION>...........</CAPTION>   

เป็นคำสั่งที่ใช้ตั้งชื่อหรือหัวข้อเรื่องให้กับตาราง

 <TR>...........</TR>   

เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดแถว (ROW)

 <TH>...........</TH>   

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดข้อมูลส่วนหัวของตาราง

<TD>...........</TD>   

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดข้อมูลในแต่ละแถว

                    โครงสร้างของตาราง

<TABLE>
            <CAPTION> ชื่อตาราง </CAPTION>
            <TR>
                     <TH> ข้อมูลส่วนหัว </TH>
            </TR> 
            <TR>
                     <TD> ข้อมูล </TD>
             </TR>
             <TR>
                     <TD> ข้อมูล </TD>
             </TR>
</TABLE>   


2.  คำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการตกแต่งตารางของภาษา HTML 

2.1 คำสั่ง BORDER   ใช้กำหนดความหนาให้กับเส้นขอบของตาราง มีหน่วยเป็น Pixel ถ้าไม่ใส่คำสั่งนี้ไว้ด้วย  BORDER  ก็จะมีค่าเท่ากับ 1 ซึ่งเป็นค่าปกตอ คือจะไม่เห็นเส้นขอบของตาราง 

2.2  คำสั่ง ALIGN ใช้กำหนดตำแหน่งการจัดวางตาราง มี 3 รูปแบบ คือ

                                              - LEFT    คือ จัดตารางชิดซ้าย (ค่าปกติ) ของจอภาพ

                                              - RIGHT  คือ จัดตารางชิดขวาของจอภาพ

                                              - CENTER  คือ จัดตารางไว้กึ่งกลางของจอภาพ

 2.3 คำสั่ง WIDTH ใช้กำหนดความกว้างของตารางทั้งหมด  มีหน่วยเป็น Pixel หรือ เปอร์เซ็นต์ก็ได้

 2.4 คำสั่ง HEIGHT  ใช้กำหนดความสูงของตารางทั้งหมด มีหน่วยเป็น Pixel หรือ เปอร์เซ็นต์ก็ได้

 2.5 คำสั่ง BGCOLOR    เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นหลังของตารางใช้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์  Internet Explorer เท่านั้น

 2.6 คำสั่ง  CELLSPACING  ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างช่องแต่ละช่องในตาราง โดยการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดตามความหนาของเส้นขอบตาราง

2.7 คำสั่ง CELLPADDING  ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดของตาราง โดยการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดตามความสูงของเส้นขอบตาราง

2.8 คำสั่ง Colspan และ Rowspan 

คำสั่ง <TD  COLSPAN> เป็นคำสั่งในการรวมคอลัมน์เข้าด้วยกัน ตามค่าของจำนวนคอลัมน์ที่กำหนดไว้

รูปแบบคำสั่ง      <TD  COLSPAN = "Number">

โดยที่           - COLSPAN คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดการรวมคอลัมน์
                     - Numberคือ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการรวมคอลัมน์เข้าเป็นคอลัมน์เดี่ยวกัน

คำสั่ง <TD  ROWSPAN> เป็นคำสั่งในการรวมแถวเข้าด้วยกัน ตามค่าของจำนวนแถวที่กำหนดไว้

รูปแบบคำสั่ง     <TD  ROWSPAN = "Number">

 โดยที่           - ROWSPAN คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดการรวมแถว
                     - Number คือ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการรวมแถวเข้าเป็นแถวเดียวกัน

อ้างอิง

การแทรกรูปภาพ

การใส่รูปภาพ
การทำเว็บเพจในหนึ่งหน้า นอกจากจะมีข้อความแล้วยังต้องประกอบด้วยรูปภาพเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเว็บเพจ นอกจากนี้แล้วรูปภาพยังสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนกว่าข้อความ ดังคำกล่าวที่ว่า "หนึ่งภาพแทนพันตัวอักษร" การใส่รูปภาพในเอกสาร HTML นั้นคุณจะต้องเตรียมรูปภาพไว้ก่อน โดยใช้แท็กสำหรับแสดงผลรูปภาพดังนี้

           รูปแบบแท็กการใส่รูปภาพ      <img src = "ชื่อภาพ">

 รูปแบบการใส่รูปภาพ

  <html>
  <head><title> ....การใส่รูปภาพ....</title></head>
       <body>
               <img src = "5.jpg">      
       </body>
  </html>


สำหรับแท็กการใส่รูปภาพ สามารถมี Attribute กำกับเพิ่มเติมได้้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดความกว้าง ความสูงของรูปภาพว่าเราต้องการให้แสดงขนาดกว้างและสูง เท่าไหร่ ซึ่งหากเราไม่ได้ระบุภาพจะมีขนาดเท่าขนาดของภาพต้นฉบับ นอกจากนี้เรายังสามารถใส่ขอบของภาพได้ด้วย ซึ่ง Attribute มีดังนี้

                ความกว้าง    width="ตัวเลขระบุความกว้าง"
                ความสูง       height="ตัวเลขระบุความสูง"
                เส้นขอบ      border="ตัวเลขระบุความหนาของเส้นขอบ"

ตัวอย่าง    <img src = "5.jpg" width="200" height="150" border="1">

จากตัวอย่าง จะแสดงภาพขนาด 200x150 px. (หน่วยการแสดงผลภาพ แสดงเป็น Pixels) และมีขอบ หากไม่ต้องการให้แสดงเส้นขอบให้กำหนด border="0" (หากต้องการใ้ห้ขอบมีความหนามาก ระบุตัวเลขให้มาก)

อ้างอิง
http://www.thainextstep.com/html/html_06.php
http://www.aw.ac.th/web_html/010.htm